ชื่อสามัญว่า Butterfly Lizard หรือ Small-scaled Lizard หรือ Ground Lizard 
สกุล Leiolepis 
วงศ์ Agamidae 

พบทั่วทั้งโลกทั้งหมด 9 ชนิด พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม

แย้เป็นสัตว์เลื้อยคลานมีรูปร่างคล้ายตุ๊กแก แต่ปราดเปรียว คล่องแคล่วกว่า ตอนกลางลำตัวมีลักษณะเป็นแต้ม สีเหลืองไหม้ ผสมกับสีแสด นอกนั้นเป็นสีเทาบางๆ ท้องแบนยื่นออกสองข้าง ขายาวมีฝ่าเท้า นิ้วยาว มีเล็บแหลมงอ หางยาวตอนโคนใหญ่เท่าหัวแม่มือฟันแหลมคม แย้ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ ๓ ชนิดด้วยการ ได้แก่ แย้เส้น แย้เหลือง (แย้จุด) และแย้ผีเสื้อ (แย้นา) แต่ละชนิดมีลวดลายคล้ายคลึงกันมาก จะแยกออกจากกันยาก แต่ละชนิดมีลักษณะดังนี้


         แย้เส้น
 หรือ แย้ธรรมดา (อังกฤษ: Common butterfly lizard; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leiolepis belliana) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกแย้ (Leiolepidinae)
มีลำตัวแบนราบ ไม่มีหนามสันหลัง ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว บนหลังมีจุดสีเทาเหลืองเรียงชิดต่อกัน ตั้งแต่บริเวณโคนหางตามแนวความยาวของลำตัวไปที่บริเวณท้ายทอย บนหลังมีจุดเล็ก ๆ เรียงห่างกันระหว่างเส้น โคนหางแบนและแผ่แบนออกข้าง ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดเล็ก ส่วนตัวเมียไม่มีเขี้ยว ตัวผู้มีสีสันและลวดลายสวยกว่าตัวเมีย ลำตัวยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 23.8 เซนติเมตร
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามพื้นดินที่เป็นที่ดอนแห้ง ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือมีไม้พุ่มเตี้ย ๆ หรือหญ้าขึ้นแซม หรือป่าโปร่ง ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ยกเว้นสิงคโปร์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค รวมถึงพบบนเกาะต่าง ๆ ด้วย โดยจะขุดรูลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร เรียกว่า "แปว"  อาศัยอยู่ จัดแบ่งออกได้เป็น ชนิดย่อย 
 แย้เหลือง
        แย้เหลือง มีขนาดเท่ากับแย้เส้นตัวสีน้ำตาล เขียว เทา เทาเขียว เขียวมะกอกอมเทา มีจุดเป็นปื้นใหญ่บนพื้นหลังมีสีเหลืองหม่น ไม่ปรากฏมีเขี้ยวใหญ่ทั้งขากรรไกรบนล่างพบ พบที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 


        แย้ผีเสื้อ (แย้นา) มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสีน้ำตาล มีจุดสีเหลืองหม่น บริเวณแผ่นหลังข้างลำตัวสีสวยสด เป็นแถบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำพาดแนวขวางลำตัวสลับกับสีส้มสด เมื่ออกผึ่งแดดส่วนกลางหลังดูเผินๆ มีสีสันราวกับผีเสื้อ จึงมีผู้เรียกว่า "แย้ผีเสื้อ" ที่ส่วนท้องเป็นจัดปื้นใหญ่ๆ สีส้ม บริเวณริมฝีปากมีสีฟ้า มีเขี้ยวขนาดใหญ่แหลมคมทั้งบนและล่าง พบทุกภาคของประเทศไทย

อุปนิสัย 
        แย้เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่วิ่งได้เร็วมาก แย้จะอาศัยอยู่ในรูไม่โผล่หน้ามาให้เห็น พฤติกรรมของแย้ในการเข้า-ออกรู เช่น เมื่อเห็นแย้วิ่งลงรูก็จะทำให้พยากรณ์ว่าอีกไม่นานฝนจะตกแล้ว หรือถ้าต้องการว่าปีนั้นน้ำจะมากหรือน้อย ให้ดูจากการปิดรูของแย้ เมื่อแย้จำศีลอยู่ในรู หากปิดต่ำกว่าระดับพื้นดินแสดงปีนั้นน้ำน้อย หากปิดรูเหนือระดับพื้นดินแสดงว่าปีนั้นน้ำจะมาก เป็นต้น แย้จะออกหากินเวลากลางวันที่มีอากาสแจ่มใสแดดไม่จัดส่วนช่วงแดดจัดแย้จะพักผ่อนอยู่ในรู อาหารหลักคือแมลงต่างๆ อาศัยอยู่รูละตัวอาจจะอยู่ใกล้ๆ กัน แย้จะมีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนจนถึงฤดูฝน และวางไข่หมกดินครั้งละ ๖-๘ ฟอง ไข่มีลักษณะยาวรี สีขาว เปลือกเหนียวนิ่ม และเริ่มวางไข่ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนประมาณ ๕-๖ วัน ลูกแย้ต้องอาศัยแม่


แหล่งที่พบ 
แย้ จะอยู่ตามที่ดอนค่อนข้างแห้งไม่มีน้ำท่วม และไม่มีน้ำขัง แย้จะชอบมากหากมีต้นไม้เตี้ยๆ ขึ้นประปรายมีหญ้าเป็นหย่อมๆ ถ้าเป็นป่าก็จะเป็นป่าโปร่งขุดรูอยู่ ซึ่งรูแย้จะลึกประมาณ ๑๕-๒๐ เซนติเมตร



ความสัมพันธ์กับชุมชน 
เนื้อแย้ เป็นอาหารได้ เมื่อดักแย้ได้แล้วจะนำแย้ไปประกอบอาหาร เช่น ย่าง ผัดเผ็ด นอกจากนี้ยังเป็นสัตว์ที่ช่วยปราบศัตรูพืชให้แก่ชาวเกษตรได้อีกด้วย เพราะอาหารที่แย้ชอบก็คือแมลงที่เป็นศัตรูพืชนั้นเอง



ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
 
แย้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นอกเหนือจะใช้ประกอบอาหารในครัวเรือนแล้ว ถ้าสามารถดักแย้ได้มากชาวบ้านจะนำแย้ไปขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ปัจจุบันได้เปิดฟาร์มเลี้ยงเป็นธุรกิจเลยก็ว่าได้


เป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับคนที่ชอบสัตว์แปลก มีสีสด สวยงามมาก