ขุนโจรแห่งหุบเขา ที่เรียกกิ่งก่าตัวนี้ ก็เพาะ หน้าตาของเจ้านี้   แต่จริง ๆ แล้ว  มันมีชื่อว่า   " กิ้งก่าแก้ว "เป็นกิ้งก่า ที่มีลาย มีสี สันสวยงานอีกชนิดหนึ่ง  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สถานที่พบ จะมีลวดลาย และสีแตกต่างกันไป ในประเทศไทยพบ ในป่าอุทยานแห่งชาติ ป่าดิบชื้น จะไม่ค่อยพบเห็นอยู่ทั่วไป เหมือนกับกิ่งก่าหัวแดง กับกิ่งก่าหัวฟ้า นานๆ จะเจอ พบได้ทุกภาค ยกเว้นตั้งแต่จังหวัดประจวบลงไป จึงเรียกว่ากิ้งก่าแก้วเหนือ ส่วนที่พบตั้งแต่ประจวบลงไป จะเรียกกิ้งก่าชนิดนี้ว่ากิ้งก่าแก้วใต้

 
  ตัวเมียจะวางไขในดิน
 
ลักษณะทั่วไปของกิ้งก่าแก้วเหนือ
มีขนาดตัวเล็ก (จากปลายปากถึงรูก้น 120 มิลลิเมตร และหางยาว 280 มิลลิเมตร)ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวค่อนข้างใหญ่และส่วนหัวกว้างกว่าลำคอเล็กน้อย หางมีความยาว 2 –3 เท่าของความยาวลำตัว ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดแข็งปกคลุม เกล็ดบนหัวมีขนาดไม่เท่ากันและเป็นสัน เกล็ดบนหลังและด้านข้างลำตัวมีขนาดไม่เท่ากันและเป็นสัน โดยเกล็ดด้านข้างลำตัวใหญ่กว่า




กิ้งก่าแก้วเหนือ มีเกล็ดบนหลังเล็กน้อย สันของเกล็ดหลังและทางด้านบนของลำตัวมีส่วนปลายของสันชี้ไปทางด้านท้ายตัวและสันของเกล็ดเรียงเป็นแถวที่มีแนวเฉียงขึ้นไปข้างบน แต่สันของเกล็ดที่ด้านล่างลำตัวจะมีแนวเฉียงลงทางด้านล่าง เกล็ดด้านท้องเล็กกว่าเกล็ดบนหลัง เกล็ดบนหางเป็นสัน หัวไหล่มีร่องหรือแอ่งและในร่องเป็นเกล็ดเล็กมาก มีรอยพับของผิวหนังที่หัวไหล่ ด้านบนและค่อนมาทางด้านท้ายของตามีหนามสั้น 1 อัน ด้านบนและค่อนมาทางด้านท้ายของแผ่นเยื่อแก้วหูมีหนามสั้น 1 อัน


กิ้งก่าแก้วเหนือ ที่ท้ายทอยในแนวกลางตัวมีหนามยาวหลายอันที่ล้อมรอบด้วยหนามที่สั้น และมีหนามต่อเนื่องไปบนหลังจนถึงโคนหาง โดยหนามมีขนาดสั้นลงตามลำดับ ลำตัวสีเทาหรือสีเทาอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว บนหัวสีคล้ำกว่าลำตัวด้านข้างของหัวมีแถบสีดำจากส่วนปลายของปากลากผ่านตาไปสิ้นสุดที่แผ่นเยื่อแก้วหู พื้นที่ด้านบนของแถบสีดำนี้บางครั้งเป็นลายเลอะของสีดำและบางครั้งเป็นสีดำทั้งหมด ขอบปากบนและขอบปากล่างสีขาว บนหลังมีแถบกว้างสีดำพาดขวาง 6 แถบ และมีแถบยาวสีน้ำตาลเหลืองหรือสีน้ำตาลจางพาดยาวจากด้านท้ายของตาไปที่โคนหาง หางมีทางสีเข้มและจางพาดขวางเป็นปล้อง ใต้คางและลำคอสีดำ สีลำตัวในช่วงเวลาสืบพันธุ์จะเป็นสีชมพูอมส้ม และแถบสีดำบนหลัง





กิ้งก่าแก้วเหนือ ด้านข้างหัว และใต้คางกับลำคอชัดเจนมากขาหน้าและขาหลังยาวและแข็งแรง เมื่อจับขาหลังแนบกับลำตัวไปทางด้านหน้าส่วนปลายนิ้วตีนอยู่ในตำแหน่งตา นิ้วตีนเรียวยาวและส่วนปลายนิ้วตีนทุกนิ้วมีเล็บ  การแพร่กระจาย จีน อินเดีย เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลย์เชีย ในประเทศไทยพบ ทุกภาคของประเทศ แต่ชนิดย่อยนี้พบเฉพาะทางตอนบนของประเทศตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นมา ในพื้นที่พบในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าปลูก พื้นที่อาศัย ค่อนข้างจำกัดแหล่งอาศัยในพื้นที่ป่า แต่ปรับตัวอาศัยอยู่ในป่าปลูกฯ ได้

 
 
กิ้งก่าแก้วเหนือ นิสัย หากินในเวลากลางวันและอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ แต่เดินหากินอยู่ตามพื้นล่างของป่า ด้วย เพราะตกในหลุม (ถัง) ดักที่ทำไว้บนพื้นล่างของป่าบ่อยครั้ง ในช่วงเวลาเช้าจะเกาะอยู่บนลำ ต้นหรือบนกิ่งของต้นไม้ในที่เด่นหรือบางครั้งพบเกาะอยู่บนหญ้าเพ็กเพื่อรับแสงอาทิตย์ เมื่อถูกรบกวนมักอ้าปากเพื่อใช้ข่มขู่ ช่วงเวลาผสมพันธุ์ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยพบเพศเมียที่มีไข่ในเดือนปลายพฤษภาคม-ต้นกรกฎาคม และพบขุดดินเพื่อวางไข่ตามแนวเส้นทางกันไฟในป่าเต็งรังในเดือนปลายพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ขึ้นกับความชื้นของพื้นดินด้วย