กิ้งก่าแก้วใต้
สถานภาพ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง พ.. 2546 ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2535 และไม่มีสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ตามเกณฑ์ของ Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (2005) และตามเกณฑ์ของIUCN (2008)
 

กิ้งก่าแก้วใต้
ลักษณะ : มีความแตกต่างกับกิ้งก่าแก้วใต้ตรงเกล็ด เกล็ดของกิ้งก่าชนิดย่อยนี้จะมีขนาดเล็ก และเป็นสันน้อยกว่า เมื่อเทียบกับชนิดทางใต้ และเขาจะมีขนาดเล็กกว่าด้วย มีขนาดตัวใหญ่กว่าชนิดทางใต้ พบอาศัยในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และพบได้ในป่าบุกรุกอีกด้วย กินแมลงเป็นอาหาร ตัวผู้จะมีสีส้มแดงและมีขีดสีขาวสลับกับสีดำบริเวณหน้า วางไข่คราวละ 10-12 ฟอง ลูกแรกเกิดมีสีน้ำตาลอ่อน และจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียว
การแพร่กระจาย : พบได้ทุกภาค ยกเว้นตั้งแต่จังหวัดประจวบลงไป ซึ่งจะเป็นชนิดทางใต้

 
กิ้งก่าแก้วใต้
เป็นกิ้งก่าขนาดกลาง มีความแตกต่างกับกิ้งก่าแก้วเหนือตรงเกล็ดมีขนาดใหญ่ และเป็นสัน เขาตรงหลังตาและท้ายทอยมีขนาดใหญ่ ยาวกว่าชัดเจน ตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีหัวสีส้มแดง หน้ามีแถบสีดำ สลับกับขีดสีขาวลากไปจนถึงโคนหาง ตัวเมียสีเขียว พบได้ในป่าดิบชื้น ป่าสวนยาง และพื้นที่เกษตรกรรม กินแมลงขนาดเล็ก พบกระจายทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบลงไปจนถึงมาเลเซีย วางไข่ครั้งละ 10-12 ฟอง