กิ้งก่าคอแดง หรือ กิ้งก่าหัวแดง หรือ กิ้งก่าสวน
เป็นกิ้งก่า ขนาดกลาง ในตัวผู้มีสีสันสะดุดตามาก โดยตั้งแต่คอถึงช่วงกลางลำตัวจะมีสีแดงสด ใต้คางมีปื้นสีดำรูปสามเหลี่ยม สีแดงเข้มสดนี้เอง เป็นที่มาของชื่ออีกชื่อหนึ่งของมันคือ " Blood sucker " สามารถเปลี่ยนสีได้รวดเร็ว เวลาตกใจมักเป็นลายบั้งตามตัว ลงมาจนถึงหาง มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง กินแมลงขนาดเล็ก เช่น ตั๊กแตนที่อยู่ตามทุ่งหญ้า และ หนอนผีเสื้อ


กิ้งก่าคอแดง  ตัวนี้ไม่ใช่กินอาหารอิ่มนะครับ แต่เป็นกิ้งก่าท้อแก่ไกล้คลอดแล้วกำลังหาที่เหมาะ ๆ สำหรับว่างไข่และต้องเป็นความลับ มาก ๆ ด้วย
 
 
ได้ที่จะเป็นหลุมสำหรับวางไข่แล้ว
  
กิ้งก่าคอแดง ช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะพบระหว่าง พฤษภาคม-มิถุนายน โดยพบเพศเมียที่มีไข่ในเดือน ปลายพฤษภาคม-ต้นกรกฎาคม และพบขุดดินเพื่อวางไข่วางไข่คราวละ 4-12 ฟอง
 
ขุดไปก็ระวังภัยไป ขุดๆ เข้าไป


โดยกิ้งก่าคอแดง เพศเมียจะขุดดินลึกประมาณ 1 นิ้ว  ระหว่างที่ขุดก็จะคอยระวังอัตราราย จากสัตว์อื่น ๆ เช่น นก  งู  หนู  เป็นต้น  และจะไม่ให้กิ้งก่าตัวอื่นรู้ว่าไขของตนอยู่ที่ใด ถ้ารู้ก็จะเปลี่ยนที่ขุดรูใหม่



ด้วยกรงเล็บที่ยาว กิ้งก่าคอแดง  คมของขาหน้า กิ่งกาสามารถขุดรูได้เร็ว  เมื่อขุดรูได้ลึกพอประมาณ ก็จะเริ่มวางไข่  

 
 
 
กิ้งก่าคอแดง  จะออกไข่ทีละฟอง จนกว่าจะหมด ลักษณะไข่ เป็นวงรีสีขาว เปลือกไข่จะนุ่ม  ด้านในไข เหมือนกับไข่ไก่ บ้านเรานี้ละครับ  และ เปลือกเนียวมาก  

เสร็จแล้วก็จัดการฝังกลบ

ใช้หัวจิกๆ จิ้มๆ ลงไป ให้แน่นๆ
 
จริง ๆ แล้ววงจรชีวิต กิ้งก่าคอแดง  เมื่อผสมพันธุ์ เสร็จ ตั้งทอง และรอวางไข่แล้วแม่กิ้งก่าก็จะทิ้งไปเลยไม่กลับอีก  ลูกกิ้งก่าที่เกิดจากไข่ จะไม้ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่ เลย  ไม่เหมือนกับสัตว์พวกอื่น เช่น นก หนู แมว หมา ที่แม่จะต้องดูแล จนกว่าจะหากินเองได้ 

 
เมื่อ กิ้งก่าคอแดง  ไข่เสร็จแล้ว ก็จะตรวจสอบความเรียบร้อยของไข่ที่อยู่ในหลุมให้เรียบร้อย และก็กรบหลุม โดยใช้ขาหลัง ค่อยเขียดิน ใบไม้ ลงไปปิดหลุม ให้แน่น เป็นอันเสร็จสิ้น  วงจรชีวิตของกิ้งก่า ดำเนินต่อไป

ของคุณภาพจากเว็ป หรือ BLOGGER ต่าง ๆ สวัสดีครับ